วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สิบสองปันนา


สิบสองปันนา






สิบสองปันนา


ตั้งอยู่ทางใต้สุดมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา หรือชื่อเต็มว่า เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มีความหมายคือ 12 เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งในอดีตเป็นเมืองของชาวไทลื้อ


เชียงรุ่ง หรือจิ่งหง (Jinghong) 

"เชียง" แปลว่า "เมือง" และ "รุ่ง" แปลว่า"รุ่งอรุณ" ว่า "เชียงรุ่ง" จึงแปลได้ว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส ภาษาไทลื้อ ชาวไทลื้อ มีลักษณะ ขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกับไทยเรามาก ยิ่งถ้าเป็นคนไทยภาคเหนือยิ่งส่งภาษากันรู้เรื่อง เพราะพื้นฐานภาษาใกล้เคียงกันมาก เชียงรุ่งได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งนกยูง เพราะมีนกยูงอาศัยอยู่ จำนวนมากในป่า นกยูงยังเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ และความสุขอีกด้วย


เมืองสิบสองปันนาเป็นเขตปกครองตนเองพิเศษสิบสองปันนามีเนื้อที่ประมาณ 19,700 ตาราง กม. มีอาณาเขตติดกับ แขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี ของประเทศลาวและ รัฐฉาน ของ พม่า โดยมีชายแดนยาวถึง 966 กิโลเมตร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง

สิบสองปันนา เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ด้วยตั้งอยู่ตรงกลางที่ลุ่มหุบเขาริมแม่น้ำโขง ซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า แม่น้ำล้านช้าง ชาวจีน เรียกว่า แม่น้ำหลันช้าง หรือหลันชาง หรือหลันชางเจียง สิบสองปันนามีสภาพภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มีฝนตกชุก ไม่มีหิมะตก อากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป ผืนดินจึงอุดมไปด้วยป่าไม้เขตร้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเขียวขจีตลอดทั้งปีในผืนป่าก็อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าอย่างช้างและนกยูง ที่เป็นเสมือนสัตว์สัญลักษณ์ของสิบสองปันนา ซึ่งดินแดนอื่นในประเทศจีนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีสภาพความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้ สิบสองปันนาจึงเป็นแหล่งปลูกข้าว อ้อย ยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ส่งขายไปยังเมืองอื่นๆ ในประเทศจีน สิบสองปันนาได้รับสมญานามว่าเป็นอาณาจักรแห่งต้นไม้ เป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของมณฑลยูนหนาน และเป็นดินแดนหนึ่งที่รัฐบาลจีนภาคภูมิใจเพราะทำให้จีนได้ชื่อว่ามีผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล มีสภาพภูมิประเทศและผืนป่าครบตั้งแต่ดินแดนน้ำแข็งแบบขั้วโลกจนถึงป่าเขตร้อนเหมือนเช่นแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างผืนป่าสิบสองปันนา

ประวัติเมืองสิบสองปันนา

ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่หนองแส หรือเมืองต้าลี่ในประเทศจีนปัจจุบัน สิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ้ง เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดยพญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชาวมองโกลได้รุกรานอาณาจักรล้านนา ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ได้เป็นของจีนต่อมา(ตามประวัติศาสตร์จีน)


การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอณาเขตเข้าไปยึดถึงเชียงตุ๋ง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาวทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง และแถบไต้คง 


สิบสองปันนาดำรงความมั่นคมเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ(จุ่มกาบหลาบคำ)มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า 



เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 21 พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอู และขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้โจมตีสิบสองปันนา ต่อจากนั้นจึงได้แบ่งเมืองเชียงรุ้งเป็น สิบสองปัน และก็เป็น เมืองในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองฮาย ม้าง หุน แจ้ ฮิง ลวง อิงู ลา พง อู่ เมืองอ่อง และ เชียงรุ้ง จึงเรียกเรียกแมองแถวๆ นี้รวมกันว่า สิบสองปันนา ในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่า และ ศาสนาได้เข้าไปในสิบสองปันนา


สมัยรัตนโกสินทร์ 

 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น หลังจากพระองค์ได้ส่งทัพมาปลดปล่อยเชียงใหม่ และอาณาจักรล้านนา จากพม่าแล้วพระองค์ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองและกวาดต้อนพลเมือง ชาวไทลื้อในสิบสองปันนา ไทลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า ไทขึนจากเชียงตุง ไทใหญ่จากตะวันออกของพม่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ น่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก เชียงรุ่งถุกยื้อแย่งดึงโดยอาณาจักรใกล้เคียงไปมาอยู่ไม่นาน กระทั่งยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมในช่วงรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 ทั้งอังกฤษ และ ฝรั่งเศส เข้ามาขีดเขตอำนาจของตน ให้พม่าไปอยู่กับอังกฤษ สิบสองปันนา อยู่กับจีน เชียงตุงไปกับพม่า และ ฝรั่งเศสคุมลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ในช่วงสงครามโลกสิบสองปันนานั้น ตกอยู่ในแผ่นดินจีน ถูกยุบเมืองเชียงรุ้งจากเมืองหลวงเป็นแค่เมือง พร้อมๆกับเจ้าทั้งหลายด้วย โดยเคยมีเจ้าปกครองอยู่ถึง 45 พระองค์ ในปัจจุบัน คนที่มีแซ่เต๋า ก็คือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้


ที่มาจาก http://xn--72c0babg1gby2bmn.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น